วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การไหว้คูร


การไหว้ครูนี้นอกจากเป็นเจตนาที่มุ่งไปยังตัวครูเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที การนึกถึงตนเองเพื่อขอขมาลาโทษแล้ว ยังโยงไปสู่สังคมด้วย คือต้องการให้สังคมรับรู้ว่าเราเป็นศิษย์มีครู พิธีไหว้ครูเป็นพิธีที่แสดงให้ทุกคนรับรู้ว่า ครูของเราเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่เคารพยกย่อง พิธีนี้จึงมีผลต่อการสร้าง ความศรัทธาไปยังผู้อื่นด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างศรัทธาปสาทะให้กับศิษย์ของศิษย์ต่อไป การสร้างศรัทธามิใช่เป็นเรื่องเหลวไหล แต่เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นใจ นั่นคือ ถ้าผู้ใดมีความเชื่อถือผู้หนึ่งผู้ใดอย่างแท้จริงแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้นั้นมีความมั่นใจในสิ่งที่จะปฏิบัติ เช่นในด้านการเรียน ก็เกิดความมั่นใจว่า เราจะเรียนได้ดีแน่ ในเรื่องนั้น เรื่องนี้เพราะเวลาไหว้ครูนั้น ครูจะอวยพรให้กับศิษย์ พรที่ครูให้เป็นสิ่งที่ศิษย์ทุกคนปรารถนา นั่นคือความสุขความเจริญ ความมีอนาคตกว้างไกล รวมทั้งให้มีความสามารถในการเรียนวิชาต่างๆ การมีศรัทธา จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในความสำเร็จของตนเองมากขึ้น ดังนั้นการไหว้ครูจึงมีผลต่อการสร้างศรัทธาปสาทะให้กับลูกศิษย์ และแสดงว่า เราเป็นศิษย์มีครู คำว่า "ศิษย์มีครู" หมายถึง "คนเก่งที่มีครูเก่ง" นั่นคือ การไหว้ครูมิใช่ให้สังคมยอมรับรู้ว่าเราเป็นศิษย์มีครูเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้สังคมยอมรับรู้เพิ่มเติมว่า ที่เราเป็นคนเก่ง และเป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะเรามี " ครูเก่ง" พิธีไหว้ครู จึงมีความหมายได้หลายนัย มีความขลัง และมีความศักดิ์สิทธ์มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น