วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประเพณีลอยกระทง



ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่พระคงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไปการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล"สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง"เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย,ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) โดยการผสมผสานกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่น เทศกาลโคมไฟนานาชาติหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไปวัตถุประสงค์
1.
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป
2.
เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน
3.
เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
4.
เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน
กิจกรรมรูปแบบการจัดงานลอยกระทงของจังหวัดนครปฐม ได้เน้นการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทย ได้แก่
1. เชิญชวนให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการและเอกชนประดิษฐ์กระทงส่งเข้าประกวด โดยแบ่งเป็นประเภทสวยงามและประเภทความคิด กำหนดขนาด เส้นผ่าศูนย์ กลางไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ประเภทสวยงามต้องประดิษฐ์ด้วยดอกไม้สด ส่วนประเภทความคิดไม่จำกัดวัสดุ ผู้ส่งกระทงเข้าประกวดต้องจัดขบวน แห่โดยตั้งขบวนจาก เทศบาลเมืองนครปฐม ไปยังพระราชวังสนามจันทร์ให้ประชาชนได้ชมความสวยงามและเป็นการเชิญชวนให้คนมาร่วมงานกระทง ที่แห่มานั้นจะนำมาลอยไว้ ในสระเพื่อรอให้คณะกรรมการตัดสินให้รางวัล
2. เชิญชวนให้หน่วยงานต่าง ๆ ประดิษฐ์โคมแขวนส่งเข้าประกวด เพื่อเป็นการฟื้นฟู ประเพณีงานจุดประทีปโคมไฟเมื่อครั้งสุโขทัย ให้อนุชนรุ่นหลังได้ ทราบ ว่างานลอยกระทงในสมัยโบราณมีความยิ่งใหญ่สวยงามเพียงใด โคมแขวนนั้นมีจุดประสงค์เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การส่งโคมแขวนนั้นมีจุดประสงค์ เพื่อบูชา พระรัตนตรัย การส่งโคมแขวนประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับกระทง คือ ประเภทสวยงามทำด้วยดอกไม้สด กับประเภทความคิดไม่จำกัดวัสดุ
3. จัดให้มีการแสดงและการละเล่นทางวัฒนธรรมไทย เช่น การแสดงบนเวทีประเภท ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย การละเล่นของคนไทยภาคต่าง ๆ และการประกวด นางนพมาศ เป็นต้น
4. มีการเล่นเพลงเรือ โดยมีเรือเพลงชายและหญิง ลอยในสระน้ำร้องเพลงเรือโต้ตอบกัน เป็นการสาธิตการเล่นเพลงเรือแบบโบราณ เพื่อรักษาการละเล่นแบบ เก่าไม่ ให้สูญหายและเป็นการเพิ่มความสนุกสนานของงานยิ่งขึ้น
5. มีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ และไฟพะเนียง เพื่อสร้างบรรยากาศรื่นเริงแบบไทย ๆ ให้มีสี สันสวยงามยิ่งขึ้น นับว่างานลอยกระทงเป็นงานพิธีเก่าแก่ของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สมควรที่ทุกจังหวัดได้ร่วมมือกันจัดงานนี้อย่างพร้อมเพรียงกันทั้งนี้นอก จากสืบทอด ประเพณี ที่ดีงามให้คงอยู่ต่อไปแล้วยังสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งช่วยปลูกฝังให้ประชาชนรักษาดูแลแม่น้ำลำคลองไม่ให้เน่าเสีย ทั้งยังรณรงค์ ให้ใช้ วัสดุธรรมชาติในการประดิษฐ์กระทงลอย เช่น ใบตองและหยวกกล้วย ตามแบบโบราณไม่ควรใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่น โฟม พลาสติกต่าง ๆ เป็นต้น
สอนทำกระทงเเบบที่ 1
วิธีทำ
1.
ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2.
พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ
3.
นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวฐาน
4.
จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ

สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลงส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ
สอนทำกระทงเเบบที่ 2


วิธีทำ
1.
ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ
2.
พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
3.
ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด
4.
พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎสวมศีรษะ
5.
จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ

สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบอื่นๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลงส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้นะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น