วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ต้นชมพู่มะเหมี่ยว

ต้น ชมพู่มะเหมี่ยว 20-02-2010 Views: 33439

ชมพู่มะเหมี่ยว
ชื่อพื้นเมือง: ชมพู่แดง ชมพู่สาแหลง
ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอกทรงกลมหนาทึบ ลำต้นมีเปลือกสีนำตาลอ่อนผิวเรียบเป็นไม้ผล
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับกันเป็นคู่ เนื้อใบหนาผิวใบเป็นมันใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอก: ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูเข้มหรือสีแดงออกดอกช่วงฤดูหนาว
ผล: ทรงกลม หรือ รียาว เมื่อแก่เป็นสีแดง หรือ ขาวลายแดงและขาว เมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด
ด้านภูมิทัศน์: เป็นไม้ผลรับประทานได้ เป็นที่ชื่นชอบของนก
ประโยชน์: ผล และ เกสรเพศผู้รับประทานได้ รากแก้คัน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ เปลือกราก ขับประจำเดือน ใบ แก้บิด

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดอกดาวเรือง

ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์
ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า
เนื้อหา
[ซ่อน]
1 ดอกไม้สัญลักษณ์
2 การใช้ประโยชน์
3 อ้างอิง
4 แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ดอกไม้สัญลักษณ์
ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
[แก้] การใช้ประโยชน์
ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์
ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ[1] จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู

ดอกมะลิ

มะลิ เป็นพืชดอก พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม
[แก้] พันธุ์มะลิ
มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
มะลิซ้อนลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
มะลิทะเล
มะลิพวง
มะลิเลื้อย

มะลิลา

ดอกกุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น
[แก้] ประเภท
กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้
กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี
[แก้] สายพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
1. มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
2. อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถปานได้ทนถึง 16 วัน
3. กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
4. กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
5. สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
6. กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
7. มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง
[แก้] การขยายพันธุ์กุหลาบ
กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ
[แก้] สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว
[แก้] การให้น้ำ และปุ๋ยกุหลาบ
[แก้] การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
[แก้] การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ

ปูม้า

ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร
[แก้] การกระจายพันธุ์
สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัดทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล
[แก้] การขยายพันธุ์
ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
[แก้] ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ปูม้า นับเป็นปูอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ใช้ปรุงเป็นอาหารเช่นเดียวกับปูดำ (Scylla serrata) หรือปูทะเล โดยใช้ปรุงได้ทั้งอาหารยุโรป, อาหารจีน, อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทย สำหรับอาหารไทยนั้นยังอาจปรุงเป็นส้มตำปูม้าได้อีกด้วย
ปูม้า จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมประมงได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยเลี้ยงในเชิงพาณิชย์

กุ้งกุลา

กุ้งกุลาดำ หรือ กุ้งม้าลาย (Tiger prawn, Penaeus monodon) เป็นกุ้งทะเล ขนาดประมาณ 18 - 25 ซม. เป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ Penaeidae อาศัยอยู่ในเขตร้อน ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก ห่างออกจากฝั่งและชอบพื้นทะเลที่เป็นดินทราย สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทนอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ เช่น บริเวณป่าชายเลน ได้ดีกุ้งกุลาดำมีถิ่นอาศัยแถบน่านน้ำของไต้หวัน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย

ปลาหมอ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami"
ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง
ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย
มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น

ปลานิล

ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
[แก้] ลักษณะทั่วไป
ปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
[แก้] อาหาร
ปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง
[แก้] นิสัย
ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน
[แก้] การสืบพันธุ์
ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ
ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป
หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
[แก้] ประโยชน์
ปลานิลนอกจากนำมารับประทานได้แล้ว เนื้อปลานิลมีเอนไซม์ทรานกลูทามิเนส (TGASE) นำมาผลิตเป็นเจลใสใช้สำหรับสลบสัตว์น้ำ[1]

กระเพรา

ลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ใบปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขน ดอกเป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนแยกเป็น 4 กลีบปลายแหลมเรียว ส่วนล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาวประมาณ 0.20 - 0.30 ซม. ผลแห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก
[แก้] สรรพคุณ
ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย
ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ[2]
น้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด [3]
ใบและกิ่งสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม [4]
[แก้] กะเพรา กับ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ต้นตระไคร้

ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1. ตะไคร้กอ
2. ตะไคร้ต้น
3. ตะไคร้หางนาค
4. ตะไคร้น้ำ
5. ตะไคร้หางสิงห์
6. ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

[แก้] การปลูกและขยายพันธุ์
ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จำนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อกัลนี่ทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย
[แก้] สรรพคุณใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้

ต้นพริก

พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง ประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่
1. พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)
2. พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่ม C. furtescens)
[แก้] การเพาะปลูก
การเตรียมดิน
ระหว่างไถพรวน ดินให้รองพื้นด้วยปูนขาว อัตรา 75 ก.ก. ต่อไร่ และปุ๋ย ไบ.โอ.ฮิวมิค.พลัส. อัตรา 50 ก.ก. ต่อไร่ แล้วรดน้ำตาม หรือจะใช้ปุ๋ยดิน ทอง อัตรา 1 แกลลอน (5 ลิตร) ต่อ 1 ไร่ รองพื้น เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัด เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีอยู่ในดิน บ่ม ดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงยกร่องกว้าง 1 เมตร สูง 20 ซม. แล้วจึงคลุมผ้ายาง ทำการ เจาะรูผ้ายางให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม. ห่างกันประมาณ 50 ซม. เพื่อป้องกันกำจัด วัชพืชในแปลงพริก
การเพาะกล้า

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ต้นมะกรูด

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
[แก้] การนำมาใช้
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่า และได้น้ำน้อยกว่า เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกก็นิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้าย ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ำมากกว่า และรสชาติที่ถูกปากมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน
นอกจากนั้น ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้
กล่าวถึงในวรรณคดี
สำหรับผลมะกรูดนั้นชาวไทยนิยมใช้ สระผมมาช้านาน และมีกล่าวไว้ในวรรณคดีของไทยหลายเรื่อง เช่น โคลงกำสรวล และกาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท ในสมัยอยุธยา ดังนี้
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก

มะนาว

ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 ซม. ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีขนดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย
มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส
ในผลมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยถึง 7% แต่กลิ่นไม่ฉุนอย่างมะกรูด น้ำมะนาวจึงมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นส่วนผสมน้ำยาทำความสะอาด เครื่องหอม และการบำบัดด้วยกลิ่น (aromatherapy) หรือน้ำยาล้างจาน ส่วนคุณสมบัติที่สำคัญ ทว่าเพิ่งได้ทราบเมื่อไม่ช้านานมานี้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2) ก็คือ การส่งเสริมโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเคยเป็นปัญหาของนักขายโรตีมาช้านาน ภายหลังได้มีการค้นพบว่าสาเหตุที่มะนาวสามารถช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เพราะในมะนาวมีไวตามินซีเป็นปริมาณมาก
มะนาวมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นสดชื่น เพราะมีส่วนประกอบของสารซิโตรเนลลัล (Citronellal) ซิโครเนลลิล อะซีเตต (Citronellyl Acetate) ไลโมนีน (Limonene) ไลนาลูล (Linalool) เทอร์พีนีออล (Terpeneol) ฯลฯ รวมทั้งมีกรดซิตริค (Citric Acid) กรดมาลิค (Malic Acid) และกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) ซึ่งถือเป็นกรดผลไม้ (AHA : Alpha Hydroxy Acids) กลุ่มหนึ่ง เป็นที่ยอมรับว่าช่วยให้ผิวหน้าที่เสื่อมสภาพหลุดลอกออกไป พร้อมๆ กับช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ช่วยให้รอยด่างดำหรือรอยแผลเป็นจางลง

ต้นมะม่วง

มะม่วงน้ำดอกไม้ (พันธุ์ สีทอง)
ลักษณะทั่วไป เจริญเติบโตเร็ว ใบใหญ่เป็นคลื่น นิยมปลูกกันมากเพราะ ผลสุกมีรสหวาน เนื้อแน่นอมเหลือง ให้ผลทุกปี และเนืองจากว่าดอกออกง่าย เป็นที่ต้องการของตลาดใน และ นอกประเทศ

ต้นมะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่ ซึ่งสังเกตได้จากการที่เปลือกนอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ชั้นเอนโดสเปิร์มก็จะหนาและแข็งขึ้น จนในที่สุดมะพร้าวก็หล่นลงจากต้น

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันพีซ


วันพีซ (ญี่ปุ่น: ワンピ-ス Wanpīsu ในชื่ออังกฤษ One Piece ?) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเขียนโดย เออิจิโร โอดะ เรื่องราวของการตามหา "วันพีซ" โดยผู้ที่ได้มาครอบครองจะได้เป็นจ้าวแห่งโจรสลัด เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน (มี.ค. 2552) ฉบับรวมเล่มออกมาถึงเล่มที่ 53 และเนื่องจากความโด่งดัง วันพีซ จึงได้รับการดัดแปลงเป็นอะนิเมะ นวนิยาย รวมไปถึงเกมอีกหลายภาคด้วยกัน
ในประเทศไทย วันพีซได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์รายสัปดาห์ ส่วนฉบับอะนิเมะ ได้ลิขสิทธิ์โดย Audio & Video Entertainment (เฉพาะปี 1) DEX (ตั้งแต่ปี 2 เป็นต้นไป และในปี พ.ศ. 2552 DEX ได้นำภาค 1 มาผลิตใหม่ในรูปแบบ DVD โดยเสียงพากย์ จะพากย์ใหม่ทั้งหมด โดยทีมพากย์ของ DEX เอง) และเคยออกอากาศทางฟรีทีวีทางไอทีวี (ทีไอทีวี) , โมเดิร์นไนน์ทีวี และในเร็วๆ นี้ วันพีชกำลังจะกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางช่อง 3 โดยจะเริ่มฉายตั้งแต่ภาคที่ 4 เริ่มวันที่ 8 สิงหาคม 2553 อ้างอิง
วันพีซเป็นหนึ่งในการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น จุดเด่นของเรื่องนี้อยู่ที่การที่ผู้วาดได้สร้างสรรค์ความฝันซึ่งต้องการผจญภัยพร้อมกับเหล่ามิตรแท้ในวัยเด็กของหลาย ๆ คนได้อย่างมีเสน่ห์ โดยระหว่างการผจญภัย ลูฟี่ต้องเจออุปสรรคในการพิสูจน์เพื่อนแท้มากมาย รวมทั้งได้เรียนรู้เรื่องราวและตำนานของบุคคลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น กองทัพเรือของรัฐบาลโลก เจ็ดเทพโจรสลัด เจ้าหญิงวีวี่แห่งอาลาบัสต้า เมืองแห่งทะเลทราย โนแลนด์จอมโกหก และเกาะแห่งท้องฟ้าในตำนาน รวมทั้งภาคล่าสุดมหาอาณาจักรแห่งน้ำวอเตอร์เซเว่น

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

พืชพรรณต่างๆ

สัตว์นานาชาติ

สัตว์จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อมนุษย์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตโปรตีนเพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก นอกจากนั้นสัตว์พื้นบ้านประเภทต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มได้รับการสนใจในการอนุรักษ์และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของประชากรในท้องถิ่น การสร้างสายพันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ที่ใช้สัตว์พื้นบ้านเหล่านี้เป็นแหล่งพันธุกรรม จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันงานวิชาการทางด้านพันธุศาสตร์ปริมาณ พันธุศาสตร์โมเลกุล ฯลฯ ได้มีการพัฒนาไปเร็วมาก การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผสมผสานใช้กันการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสหากรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก ดังนั้นเพื่อให้สามารถสร้างสายพันธุ์สัตว์รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก จึงจำเป็นต้องเปิดหลักสูตร การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อผลิตบุคลากรระดับมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) สำหรับรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรที่จบการศึกษาทางวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล / สัตวศาสตร์ หรือสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนักศึกษาจากประเทศใกล้เคียง สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ได้โดยเร็ว 3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสายพันธุ์สัตว์ขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นการยกระดับบุคลากรในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ให้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านวิชาการการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้น 4. สร้างเครือข่ายระหว่างภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตและภาคการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
5. กำหนดการเปิดสอน
ปีการศึกษา 2547
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
มีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
คุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระเบียบการรับบุคคลเข้าศึกษาของหลักสูตร โดยคัดเลือกด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้พิจารณาความรู้พื้นฐานสาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ ความสามารถให้เวลากับการศึกษาอย่างเต็มที่ รวมทั้งพิจารณาจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ จากใบสมัคร และหลักฐานประกอบการสมัคร
8. ระบบการศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. ระยะเวลาศึกษา
ต้องเรียนตามหลักสูตรปริญญาโท ภายใน 4 ปีการศึกษา นับตั้งแต่วันที่เข้ารับการศึกษา ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. การลงทะเบียน
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผลมีการสอบวัดคุณสมบัติและประมวลความรู้ในรูปแบบข้อเขียน หรือปากเปล่าหรือสองอย่าง และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ผลการสอบต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสอบทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. อาจารย์ผู้สอน

กีฬาสากล

กีฬาเป็นกิจกรรมที่มีการแข่งขันเพื่อผลแพ้ชนะ โดยผู้แข่งขันจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นทีมขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬา ซึ่งกีฬาที่เล่นในประเทศไทยมีทั้งกีฬาไทยและกีฬาสากล
กีฬาสากลเป็นกีฬาที่เป็นที่ยอมรับขององค์กรกีฬาทั่วโลกให้เป็นกีฬาที่บรรจุอยู่ในเกมการแข่งขัน ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะนำเสนอกีฬาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน กรีฑา วอลเลย์บอล
ก่อนการฝึกเล่นกีฬาทุกครั้ง นักเรยนควรปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑) ตรวจอุปกรณ์การฝึกให้อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัย
๒) อบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
๓) สังเกตการสาธิตการฝึกปฎิบัติของครูผู้สอน
๔) ฝึกปฎิบัติด้วยความระมัดระวัง
๕) ประเมินผลการฝึกปฎิบัติ เพื่อหาข้อบกพร่อง และเตรียมปรับปรุงแก้ไข
๖) ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และฝึกซ้ำ ๆ
๗) เมื่อฝึกกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้เก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน เป็นกิจกรรมพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก และกีฬาเกือบทุกชนิดที่จะต้องใช้ความแข็งแรง ความอ่อนตัว การทรงตัว จังหวะและความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกมีร่างกายแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจและสง่างาม มีการตัดสินใจที่ดี
กิจกรรมยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานมีอยู่หลายกิจกรรม เช่น ทรงตัว กลิ้งตัว เหวี่ยงตัว ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะฝึกกิจกรรม ดังนี้
๑ การทรงตัว
๑) หกกบ
หกกบคือ การเลี้ยงตัวให้ตั้งอยู่ได้บนแขน ผู้ที่ทำหกกบได้ดีต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะจะบังคับกล้ามเนื้อให้นิ่งอยู่กับที่ได้ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) นั่งยอง ๆ ด้วยปลายเท้า เข่าแยกวางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า ระยะห่างระหว่างมือและเท้าเท่ากับความกว้างประมาณ ๑ ช่วงไหล่แขนทั้งสองอยู่ระหว่างทั้งสองข้าง
(๒) งอสอกทั้งสองข้าง โดยให้ข้อศอกอยู่ตรงรอยพับของเข่า แล้วพยายามให้ขาพับด้านในวางบนแขนเหนือข้อศอกเล็กน้อย
(๓) ยกเท้าขึ้นจากพื้น น้ำหนักตัวอยู่บนมือทั้งสอง เงยหน้าขึ้นเพื่อช่วยในการเลี้ยงตัว แล้วเลี้ยงตัวไว้ให้นานที่สุด
๒) หกสามเส้า
หกสามเส้าหรือหกหัวตั้ง คือ การตั้งศีรษะกับพื้น โดยเท้าทั้งสองข้างชี้ขึ้นข้างบน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานแบบเกร็งอยู่กับที่ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) จับคู่กับเพื่อน เพื่อให้เพื่อนคอยช่วยเหลือ
(๒) นั่งคุกเข่า วางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า
(๓) ก้มศีรษะวางลงบนพื้น ให้กลางศีรษะติดพื้นให้ศีรษะและมือวางลงบนพื้นโดยให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสามเส้า
(๔) ค่อยๆ ยกตัวขึ้น โดยเหวี่ยงขาข้างหนึ่งขึ้น แล้วจึงยกขาข้างที่เหลือตามโดยมีเพื่อนคอยช่วยเหลือ พยายามใช้ศีรษะและมือเลี้ยงลำตัวตรงไปในอากาศ
๓)การทรงตัวด้วยมือและแขน
เป็นการใช้มือและแขนช่วยรับน้ำหนักตัวและประคองตัวไม่ให้ล้มลง
(๑) การฝึกทรงตัวบนเก้าอี้ สามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนั้น
๑. นั่งบนเก้าอี้ ลำตัวตั้งตรง แขนวางแนบลำตัว ฝ่ามือวางบนเก้าอี้
๒. ยกลำตัวและเท้าให้พ้นพื้น ใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
(๒) การฝึกทรงตัวบนพื้นสามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑. นั่งราบกับพื้น เท้าเหยียดตรงชิดกัน ฝ่ามือวางราบกับพื้น โดยเยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย ลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
๒. ยกลำตัวและขาทั้งสองข้างขึ้นให้พ้นพื้น โดยใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
๒ การต่อตัว
การต่อตัวเป็นการฝึกที่จะช่วยทำให้ผู้มีความอดทน ความแข็งแรงมีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งยังช่วยเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีและความเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ การต่อตัว เป็นกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นผู้ฝึกจึงควรมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
๓ ความคล่องตัว
ความคล่องตัวคือ การเคลื่อนที่ของร่างกายที่รวดเร็ว คล่องแคล่ว
๑) การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง
เป็นการวิ่งหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทางได้คล่องแคล่วซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) วิ่งสลับทิศทาง เป็นการวิ่งตรงไปและเลี้ยวซ้ายหรือขวาสลับกันไป
(๒) วิ่งไปและวิ่งกลับ เป็นการวิ่งตรงไปอ้อมหลักและวิ่งหลับมาที่จุดเดิม
(๓) วิ่งอ้อมหลักสลับไปมา เป็นการวิ่งซิกแซ็กอ้อมหลัก
(๔) วิ่งอ้อมหลักหรือจุด ๓ จุด เป็นการวิ่งอ้อมหลักเป็นรูปสามเหลี่ยม
๒) การข้ามสิ่งกีดขวาง
เป็นการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งมีวิธีปฎิบัติ ดังนี้
(๑) กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
(๒) ม้วนตัวข้ามสิ่งกีดขวาง
๔ ความอ่อนตัว
ความอ่อนตัวคือ ความสามารถของร่างกายในการงอตัวและการยืดตัวการฝึกอ่อนตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งมีวิธีปฎิบัติดังนี้
(๑) นั่งบิดตัวซ้ายขวา
(๒) นอนใช้ปลายเท้าแตะพื้นเหนือศีรษะ
(๓) ยืนแอ่นตัวไปด้านหลัง
(๔) นั่งแตะปลายเท้า
(๕) ก้มบิดลำตัว

วันห้องสมุด


เรื่องราวของหอสมุดแห่งชาติ และกิ่งก้านอีก 17 สาขา...
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2009, 10:36:28 AM »
หอสมุดแห่งชาติ
ความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันของไทย สถาปนาขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยการรวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสาสนสังคหะเข้าด้วยกัน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดการ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ และได้วิวัฒนาการเป็นสำนักหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน หอพระสมุดวชิรญาณ เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ข้างนอกประตูพิมานไชยศรี คือศาลาสหทัยสมาคม แต่การบริหารและการให้บริการของหอพระสมุดเป็นสมาคม และเป็นสโมสรสำหรับสมาชิกเท่านั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการหอสมุดแห่งชาติอังกฤษและหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร มีพระราชดำริว่า หอพระสมุดวชิรญาณที่ทรงร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางวิชาการความรู้ยังไม่กว้างขวาง เพราะส่วนมากเป็นสมาชิกและอยู่ในวงแคบ หากขยายกิจการหอพระสมุดออกไปให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เพื่อพสกนิกรจะได้แสวงหา ประโยชน์ต่างๆจะได้จากการอ่านหนังสือ คงจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นสมตามพระราชประสงค์ที่จะทรงเฉลิมพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นหอสมุดสำหรับพระนครขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๔๘ และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ตามพระสมณนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มาไว้ที่ ตึกใหญ่ริมถนนหน้าพระธาตุซึ่งเรียกว่าตึกถาวรวัตถุ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๙ กิจการของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับได้มีการรวบรวมหนังสืออันมีค่ายิ่งของประเทศไว้ได้เป็นจำนวนมากและยังได้วางรากฐานการจัดห้องสมุดตามมาตรฐานสากลหลายประการ เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการค้นหนังสือ ทำบรรณานุกรม และการจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าต่างๆ จำนวนมาก เป็นต้น ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุด วชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น ๒ หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นหอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนากิจการเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับมี ผู้ใช้บริการจำนวนมากจนถึง พุทธศักราช ๒๕๐๕ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง ๕ ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย ๕ ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
หอสมุดแห่งชาติมีสาขาทั้งหมด 17 สาขาด้วยกัน ดังนี้1. หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ 280/8 หมู่ 2 ถนนหลวงพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520โทรศัพท์ 02 739-2297-8 โทรสาร 02 739-2297-8 ต่อ 206 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 8.30 - 16.30 น. วันจันทร์ - ศุกร์ หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 2. หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี109 หมู่ 1 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110โทรศัพท์ 036 581-520 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 3. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ 034 513-924-6, 516-755 โทรสาร 034 513-924เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ ::9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 4. หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 035 535-343 , 535-244 โทรสาร 035 535-343 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-พุธ 9.00-20.30 น. วันพฤหัสบดี-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย

เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ (Recorder)
ฟลุ๊ต (Flute) และ ฟลุ๊ต-ปิดโคโล (Flute-Picolo)
คลาริเนท (Clarinet)
แชกโซโฟน (Saxophone)
บาสซูน (bassoon)
โอโบ (Oboe)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องทองเหลือง(Brass Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ทรัมเป็ท (Trumpet)
คอนเน็ท (Cornet)
เฟรนช์ ฮอร์น (French Horn)
ทรอมโบน (Trombone)
แซ็กฮอร์น (Saxhorn)
ซูซาโฟน (Sousaphone)
ทูบา (Tuba)
ยูโฟเนียม (Euphonium)
พัลลาเดียม(Palladium)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
กลอง (Drum), ทิมพานี(Timpani)
ฉาบ (Cymbol), ฆ้อง (Gong)
เบลลีลา (Bellela), ไซโลโฟน (Xylophone)
มาราคัส แทมโปลิน
คาสทาเนทหรือกรับสเปน (Castanet)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว (Keyboard Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ออแกน (Organ)
เมโลเดี้ยน (Melodian)
เปียโน (Piano)
แอคคอเดียน (Accordion)
ฮาปซิคอร์ด
อิเล็คโทน (Electone

เครื่องดนตรีไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความในหมวดหมู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ถ้าต้องการมีส่วนรวม แก้ไข สามารถร่วมได้ที่ หน้าโครงการ
หน้านี้เป็นหน้ารวมบทความในหมวดหมู่ เครื่องดนตรีไทย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เครื่องดนตรีไทย
หมวดหมู่ย่อย
หมวดหมู่นี้มี 3 หมวดหมู่ย่อย จากทั้งหมด 3 หมวดหมู่

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน (0)

[×] ปี่ (0)

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ (0)
บทความในหมวดหมู่ "เครื่องดนตรีไทย"
มีบทความ 45 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 45 หน้า รายการที่ปรากฎด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด
เครื่องดนตรีไทย

กระจับปี่
กรับ
กลองชาตรี
กลองตะโพน
กลองทัด
กลองมลายู
กลองยาว
กลองสองหน้า
กลองแขก

ขลุ่ย
ขลุ่ยหลิบ
ขลุ่ยอู้
ขลุ่ยเพียงออ
ขิม

ฆ้อง
ฆ้องมอญ
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่

จะเข้

ฉาบ
ฉิ่ง

ซอ
ซอกันตรึม
ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้

ตะโพน
ตะโพนมอญ

โทน

บัณเฑาะว์

เปิงมาง
ปี่
ปี่ชวา
ปี่นอก
ปี่มอญ
ปี่ใน

ระนาด
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดเอก
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดแก้ว
รำมะนา

อังกะลุง

ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย

ลักษณะภูมิประเทศ
ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5เขตคือ
1.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขต โครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้
2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า
3.เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ ตอนกลางประกอบไปด้วยที่ราบสูง และเทือกเขามากมาย เทือกเขาสูงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัว ไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ปามีร์นอต หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก จากปามีร์นอตมีเทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้ เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่ จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือ มีเทือกเขา ที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน และแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือ ได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้ง 2 นี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนว ในเขตประเทศตุรกี คือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาปอนติก และแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส
4.เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เขตที่ราบสูงตอนกลางเป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับ เทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย
5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูง ทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงดังกล่าว ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

เมืองหลวงแต่ละประเทศ

ประเทศ
ชื่อเมืองหลวง
Afghanistan
Kabul
Albania
Tirana
Algeria
Algiers
Andorra
Andorra la Vella
Angola
Luanda
Antigua and Barbuda
St. John's
Argentina
Buenos Aires
Armenia
Yerevan
Australia
Canberra
Austria
Vienna
Azerbaijan
Baku
Bahamas
Nassau
Bahrain
Al-Man?mah
Bangladesh
Dhaka
Barbados
Bridgetown
Belarus
Mensk (Minsk)
Belgium
Brussels
Belize
Belmopan
Benin
Porto-Novo (official)
Bhutan
Thimphu (official)
Bolivia
Sucre, 204,200; Administrative capital: La Paz
Bosnia and Herzegovina
Sarajevo
Botswana
Gaborone
Brazil
Bras?lia
Brunei
Bandar Seri Begawan
Bulgaria
Sofia
Burkina Faso
Ouagadougou
Burundi
Bujumbura
Cambodia
Phnom Penh
Cameroon
Yaound
Canada
Ottawa, Ontario
Cape Verde
Praia
Central African Republic
Bangui
Chad
N'Djamena
Chile
Santiago
China
Beijing
Colombia
Santaf? de Bogot
Comoros
Moroni (on Grande Comoro)
Congo, Democratic Republic of the
Kinshasa
Congo, Republic of
Brazzaville
Costa Rica
San Jos
C?te d'Ivoire
Yamoussoukro (official)
Croatia
Zagreb
Cuba
Havana
Cyprus
Lefkosia (Nicosia) (in government-controlled area)
Czech Republic
Prague
Denmark
Copenhagen
Djibouti
Djibouti
Dominica
Roseau
Dominican Republic
Santo Domingo
East Timor
Dili
Ecuador
Quito
Egypt
Cairo
El Salvador
San Salvador
Equatorial Guinea
Malabo
Eritrea
Asmara
Estonia
Tallinn
Ethiopia
Addis Ababa
Fiji
Suva (on Viti Levu)
Finland
Helsinki
France
Paris
Gabon
Libreville
Gambia
Banjul
Georgia
Tbilisi
Germany
Berlin
Ghana
Accra
Greece
Athens
Grenada
St. George's
Guatemala
Guatemala City
Guinea
Conakry
Guinea-Bissau
Bissau
Guyana
Georgetown
Haiti
Port-au-Prince
Honduras
Tegucigalpa
Hungary
Budapest
Iceland
Reykjavik
India
New Delhi
Indonesia
Jakarta
Iran
Teheran
Iraq
Baghdad
Ireland
Dublin
Israel
Jerusalem
Italy
Rome
Jamaica
Kingston
Japan
Tokyo
Jordan
Amman
Kazakhstan
Astana
Kenya
Nairobi
Kiribati
Tarawa
Korea, North
Pyongyang
Korea, South
Seoul
Kuwait
Kuwait
Kyrgyzstan
Bishkek (formerly Frunze)
Laos
Vientiane
Latvia
Riga
Lebanon
Beirut
Lesotho
Maseru
Liberia
Monrovia
Libya
Tripoli
Liechtenstein
Vaduz
Lithuania
Vilnius
Luxembourg
Luxembourg
Macedonia
Skopje
Madagascar
Antananarivo
Malawi
Lilongwe
Malaysia
Kuala Lumpur
Maldives
Male
Mali
Bamako
Malta
Valletta
Marshall Islands
Majuro
Mauritania
Nouakchott
Mauritius
Port Louis
Mexico
Mexico City
Micronesia
Palikir
Moldova
Chisinau
Monaco
Monaco
Mongolia
Ulaan Baatar
Montenegro
Podgorica (administrative capital)
Morocco
Rabat
Mozambique
Maputo
Myanmar
Rangoon (Yangon)
Namibia
Windhoek, 221,000. Summer capital: Swakopmund
Nauru
Yaren
Nepal
Kathmandu
Netherlands
Amsterdam (official)
New Zealand
Wellington
Nicaragua
Managua
Niger
Niamey
Nigeria
Abuja
Norway
Oslo
Oman
Muscat
Pakistan
Islamabad
Palau
Koror
Palestinian State (proposed)
Undetermined
Panama
Panama City
Papua New Guinea
Port Moresby
Paraguay
Asunci?n
Peru
Lima
Philippines
Manila
Poland
Warsaw
Portugal
Lisbon
Qatar
Doha
Romania
Bucharest
Russia
Moscow
Rwanda
Kigali
St. Kitts and Nevis
Basseterre (on St. Kitts)
St. Lucia
Castries
St. Vincent and the Grenadines
Kingstown
Samoa
Apia
San Marino
San Marino
S?o Tom? and Pr?ncipe
S?o Tom
Saudi Arabia
Riyadh
Senegal
Dakar
Serbia
Belgrade
Seychelles
Victoria
Sierra Leone
Freetown
Singapore
Singapore
Slovakia
Bratislava
Slovenia
Ljubljana
Solomon Islands
Honiara (on Guadalcanal)
Somalia
Mogadishu
Spain
Madrid
Sri Lanka
Colombo
Sudan
Khartoum
Suriname
Paramaribo
Swaziland
Mbabane
Sweden
Stockholm
Switzerland
Bern
Syria
Damascus
Taiwan
Taipei
Tajikistan
Dushanbe
Tanzania
Dodoma
Thailand
Bangkok
Togo
Lom
Tonga
Nuku'alofa
Trinidad and Tobago
Port-of-Spain
Tunisia
Tunis
Turkey
Ankara
Turkmenistan
Ashgabat
Tuvalu
Funafuti
Uganda
Kampala
Ukraine
Kyiv (Kiev)
United Arab Emirates
Abu Dhabi
United Kingdom
London
United States
Washington DC
Uruguay
Montevideo
Uzbekistan
Tashkent
Vanuatu
Port Vila
Venezuela
Caracas
Vietnam
Hanoi
Western Sahara (proposed state)
El Aaiun
Yemen
Sana
Zambia
Lusaka
Zimbabwe
Harare