วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

สัตว์นานาชาติ

สัตว์จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อมนุษย์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตโปรตีนเพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก นอกจากนั้นสัตว์พื้นบ้านประเภทต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มได้รับการสนใจในการอนุรักษ์และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของประชากรในท้องถิ่น การสร้างสายพันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ที่ใช้สัตว์พื้นบ้านเหล่านี้เป็นแหล่งพันธุกรรม จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันงานวิชาการทางด้านพันธุศาสตร์ปริมาณ พันธุศาสตร์โมเลกุล ฯลฯ ได้มีการพัฒนาไปเร็วมาก การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผสมผสานใช้กันการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสหากรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก ดังนั้นเพื่อให้สามารถสร้างสายพันธุ์สัตว์รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก จึงจำเป็นต้องเปิดหลักสูตร การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อผลิตบุคลากรระดับมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) สำหรับรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรที่จบการศึกษาทางวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล / สัตวศาสตร์ หรือสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนักศึกษาจากประเทศใกล้เคียง สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ได้โดยเร็ว 3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสายพันธุ์สัตว์ขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นการยกระดับบุคลากรในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ให้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านวิชาการการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้น 4. สร้างเครือข่ายระหว่างภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตและภาคการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
5. กำหนดการเปิดสอน
ปีการศึกษา 2547
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
มีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
คุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระเบียบการรับบุคคลเข้าศึกษาของหลักสูตร โดยคัดเลือกด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้พิจารณาความรู้พื้นฐานสาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ ความสามารถให้เวลากับการศึกษาอย่างเต็มที่ รวมทั้งพิจารณาจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ จากใบสมัคร และหลักฐานประกอบการสมัคร
8. ระบบการศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. ระยะเวลาศึกษา
ต้องเรียนตามหลักสูตรปริญญาโท ภายใน 4 ปีการศึกษา นับตั้งแต่วันที่เข้ารับการศึกษา ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. การลงทะเบียน
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผลมีการสอบวัดคุณสมบัติและประมวลความรู้ในรูปแบบข้อเขียน หรือปากเปล่าหรือสองอย่าง และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ผลการสอบต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสอบทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. อาจารย์ผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น