ปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การใช้ทรัพยากรในด้านต่างๆของเมือง ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน น้ำ และการบริโภคอื่นๆ ส่งผลให้เมืองกลายเป็นปัจจัยหลักที่สร้างผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมของโลก การกระจุกตัวของกิจกรรมด้านเศรษฐกิจอย่างหนาแน่นและอัตราการบริโภคที่สูงในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ประชากรโลกเป็นกลุ่มสำคัญที่เป็นผู้สร้างมลพิษในอากาศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม
ปัญหาขยะในเมือง แค่เพียงเราทิ้งขยะคนละชิ้นต่อวัน ก็ส่งผลให้เกิดปริมาณของขยะที่เพิ่มมากขึ้น หากนำมากองรวมกันอาจสูงกว่าตึกสิบชั้นและยากต่อการกำจัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางพื้นฐานในการแก้ปัญหาโดยลดปริมาณขยะด้วยวิธีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันจากหลายฝ่าย ทั้งโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ ต้องร่วมกันคิดหาวิธีการต่างๆเพื่อช่วยลดปัญหาขยะในเมือง ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม อาทิเช่น....
1 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง คือการแยกประเภทของขยะและทิ้งลงถังขยะที่แบ่งประเภทต่างๆได้อย่างเหมาะสม เช่น
- ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ( ย่อยสลายได้ ) เช่นเศษอาหาร เศษผลไม้ หรือเศษผักต่างๆ เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เปลือกลูกอม ห่อขนมต่างๆ เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่นแก้ว โลหะ ขวด พลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ หรือถ่านไฟฉาย เป็นต้น
2 กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล
ธนาคารขยะรีไซเคิล หลักง่ายๆคือ สมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝากในบัญชีแทนเงินฝาก เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมรูปแบบนี้คือ ชุมชนมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชนด้วยตนเอง ส่วนผลพลอยได้อีกประการหนึ่งคือ เยาวชนจะมีรายได้จากการนำขยะมาฝากกับธนาคาร ส่วนธนาคารขยะก็มีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลให้กับร้านรับซื้อของเก่า
3 กิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพ และเกษตรอินทรีย์
ขยะอินทรีย์ เกิดจากการบริโภคของคน ซึ่งเศษอาหารที่เกิดจากการเตรียมอาหาร และจากการบริโภคไม่หมด นำไปยัง " หลุมฝังกลบ " ขยะเหล่านี้ก็จะถูกย่อยสลายด้วยอินทรีย์ (เป็นสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็ก ) ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะใช้ขยะเป็นแหล่งอาหารของมัน โดยเปลี่ยนสารอาหารในขยะให้เป็นสารอาหารต่างๆที่มันสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโต ผ่านกระบวนการย่อยสลายเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งก่อให้เกิด " ก๊าซมีเทน " ( ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ที่มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น )
การช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบขยะก็คือ การแปรสภาพขยะอินทรีย์เหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ย เพื่อเป็นอาหารบำรุงดินของแปลงเกษตรหลังบ้าน หรือแปลงเกษตรในโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน สู่ชั้นบรรยากาศแล้ว การทำเกษตรในครัวเรือน ในโรงเรียน หรือในชุมชน จะช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ในการขนส่งพืชผัก และทำให้ได้บริโภคผักที่สดใหม่ ปลอดสารเคมี สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากการทำปุ๋ยอินทรีย์แล้ว อีกประการหนึ่งคือการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไป คือการนำเอาเศษพืชผัก ผลไม้ต่างๆ มาหมักกับกากน้ำตาล ทำให้เกิดจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก เมื่อเศษพืชผักถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ สารต่างๆจะมีธาตุอาหารที่สำคัญปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซน์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมที่แนะนำให้เพื่อนๆได้รู้ จะเป็นกิจกรรมคัดแยกขยะ รีไซเคิลขยะ และการทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ ล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นะ จะ บอก ให้.......
ปัญหาขยะในเมือง แค่เพียงเราทิ้งขยะคนละชิ้นต่อวัน ก็ส่งผลให้เกิดปริมาณของขยะที่เพิ่มมากขึ้น หากนำมากองรวมกันอาจสูงกว่าตึกสิบชั้นและยากต่อการกำจัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางพื้นฐานในการแก้ปัญหาโดยลดปริมาณขยะด้วยวิธีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันจากหลายฝ่าย ทั้งโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ ต้องร่วมกันคิดหาวิธีการต่างๆเพื่อช่วยลดปัญหาขยะในเมือง ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม อาทิเช่น....
1 กิจกรรมส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง คือการแยกประเภทของขยะและทิ้งลงถังขยะที่แบ่งประเภทต่างๆได้อย่างเหมาะสม เช่น
- ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ( ย่อยสลายได้ ) เช่นเศษอาหาร เศษผลไม้ หรือเศษผักต่างๆ เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เปลือกลูกอม ห่อขนมต่างๆ เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่นแก้ว โลหะ ขวด พลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม เป็นต้น
- ถังขยะสำหรับใส่ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ หรือถ่านไฟฉาย เป็นต้น
2 กิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิล
ธนาคารขยะรีไซเคิล หลักง่ายๆคือ สมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาฝากในบัญชีแทนเงินฝาก เพื่อให้เยาวชนและชุมชนเกิดความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมรูปแบบนี้คือ ชุมชนมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชนด้วยตนเอง ส่วนผลพลอยได้อีกประการหนึ่งคือ เยาวชนจะมีรายได้จากการนำขยะมาฝากกับธนาคาร ส่วนธนาคารขยะก็มีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลให้กับร้านรับซื้อของเก่า
3 กิจกรรมทำปุ๋ยชีวภาพ และเกษตรอินทรีย์
ขยะอินทรีย์ เกิดจากการบริโภคของคน ซึ่งเศษอาหารที่เกิดจากการเตรียมอาหาร และจากการบริโภคไม่หมด นำไปยัง " หลุมฝังกลบ " ขยะเหล่านี้ก็จะถูกย่อยสลายด้วยอินทรีย์ (เป็นสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็ก ) ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะใช้ขยะเป็นแหล่งอาหารของมัน โดยเปลี่ยนสารอาหารในขยะให้เป็นสารอาหารต่างๆที่มันสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโต ผ่านกระบวนการย่อยสลายเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งก่อให้เกิด " ก๊าซมีเทน " ( ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ที่มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น )
การช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบขยะก็คือ การแปรสภาพขยะอินทรีย์เหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ย เพื่อเป็นอาหารบำรุงดินของแปลงเกษตรหลังบ้าน หรือแปลงเกษตรในโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน สู่ชั้นบรรยากาศแล้ว การทำเกษตรในครัวเรือน ในโรงเรียน หรือในชุมชน จะช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ในการขนส่งพืชผัก และทำให้ได้บริโภคผักที่สดใหม่ ปลอดสารเคมี สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากการทำปุ๋ยอินทรีย์แล้ว อีกประการหนึ่งคือการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไป คือการนำเอาเศษพืชผัก ผลไม้ต่างๆ มาหมักกับกากน้ำตาล ทำให้เกิดจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก เมื่อเศษพืชผักถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ สารต่างๆจะมีธาตุอาหารที่สำคัญปลดปล่อยออกมา เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซน์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมที่แนะนำให้เพื่อนๆได้รู้ จะเป็นกิจกรรมคัดแยกขยะ รีไซเคิลขยะ และการทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ ล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นะ จะ บอก ให้.......
ตรวจแล้ัว ผ่าน
ตอบลบครูอนุชาญ
ผู้ตรวจ