วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเกิดแผ่นดินไหว


แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" [แก้] แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ

แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2449

ความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวที่โกเบ เมื่อ พ.ศ. 2538
แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

การเกิดฤดูการ


การเกิดฤดูกาล

ฤดู ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถานให้ความหมายว่า ส่วนของปีแบ่ง ตามลักษณะของอากาศ ส่วนคำว่า กาล หมายความว่าเวลา ดังนั้น ฤดูกาลจึงอาจหมายถึง ช่วงในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา กับแนวซึ่งตั้งฉากกับแนวโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งที่รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับพื้นโลกเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของ แนวทางการโคจรโดยมีตำแหน่งตั้งฉากเหนือสุดที่ 23.5 N เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นอยู่ในซีกโลกเหนือ และมีตำแหน่งใต้สุดที่ละติจูด 23.5 S เมื่อตำแหน่งดวงอาทิตย์เลื่อนลงไปอยู่ในซีกโลกใต้ สาเหตุดังกล่าวทำให้พื้นที่ต่าง ๆ บนพื้นโลกในแต่ละช่วงเวลามีอุณหภูมิแตกต่างกันไปจนสามารถแบ่งช่วงเวลาของ โอโซน และภาวะเรือนกระจก การเกิดฤดูตามเขตต่าง ๆได้โดยพิจารณาตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์

ทำไมจึง มีฤดูกาล

โลก ของเราจะหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 1 วัน ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้น ก็จะหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยซึ่งใช้เวลา 365 วัน ในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แกนของโลกเรานั้นไม่ได้ตั้งตรง แต่จะเอียงทำมุมกับวงโคจรของมันเอง ด้วยเหตุนี้ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่ตามวงโคจรนั้น เมื่อโลกโคจรไปอยู่ในตำแหน่งแต่ละแห่ง ส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นมา เช่น ในฤดูร้อนส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ยาวที่สุด (กลางวันนาน) และในเวลากลางคืนน้อยที่สุด ส่วนฤดูใบไม้ร่วงกลางคืนจะยาว กลางวัยจะสั้นที่สุด

ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้

วสัน ตฤดู หรือ ฤดูใบไม้ผลิ: ตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน

คิมหันตฤดู หรือ ฤดูร้อน: ตั้งแต่ 21 มิถุนายน ถึง 21 กันยายน

สารทฤดู หรือ ฤดูใบไม้ร่วง: ตั้งแต่ 22 กันยายน ถึง 21 ธันวาคม

เหมันตฤดู หรือ ฤดูหนาว : ตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 20 มีนาคม

ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูแล้ง (ประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว) และฤดูฝน

การเกิดฤดูกาลต่างๆในโลกเรานี้ สามารถสังเกตได้จากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้เป็นวงกลมพอดี ประกอบกับการที่โลกหมุนรอบตัวเองและแกนโลกเอียงเล็กน้อย ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้น


ประเทศไทยมีฤดูอย่างเป็นทางการเพียง 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู), ฤดูฝน (วัสสานฤดู) และ ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) หลายคนมักเข้าใจว่า"วสันตฤดู"คือฤดูฝน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ "วสันต์" เป็นคำบาลีและสันสกฤตหมายถึงฤดูใบไม้ผลิ "วัสสานะ" เป็นคำบาลี ตรงกับคำสันสกฤตว่า "วรรษ" (อ่านว่า วัด หรือ วัด-สะ) แล้วไทยแผลงตัว ว เป็นตัว พ กลายเป็น "พรรษ" (หรือ "พรรษา") หมายถึงฤดูฝน เพราะฉะนั้น ฤดูฝนต้องใช้ว่า"วัสสานฤดู" ไม่ใช่วสันตฤดู

สำหรับประเทศในซีกโลกเหนืออย่างสหรัฐอเมริกาจะมีฤดูทั้งหมดสี่ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ในการแบ่งฤดูกาลในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความเกี่ยวข้องกับวันที่เกิด ปรากฏการณ์ที่สำคัญทางดาราศาสตร์สี่วัน คือ วสันตวิษุวัต ครีษมายัน ศารทวิษุวัต และ เหมายัน วสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัต คือ วันที่กลางวันกับกลางคืนมีความยาวเท่าๆกันเนื่องจากพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศ ตะวันออกพอดีและตกลงทางทิศตะวันตกพอดี ขณะที่ วันครีษมายัน ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ส่วนเหมายันคือวันที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน

คำว่าวิษุวัต ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Equinox (อิควิน๊อกซ์) เป็นช่วงที่เส้นอิคลิปติค หรือเส้นระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มีช่วงเวลา กลางวัน กับกลางคืน ยาวเท่ากัน โดยที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก และ ตกใกล้ จุดทิศตะวันตก มากที่สุด ในรอบ 1 ปี มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันในหนึ่งปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ในภาษาอังกฤษเรียกว่า spring equinox เนื่องจากอยู่ในฤดูใบไม้ผลิจึงเกิดการสมาสคำเป็นคำว่า วสันตวิษุวัต เนื่องจาก วสันต หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ ส่วนอีกครั้งเกิดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน ตรงกับช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า autumnal equinox จึงใช้คำว่า ศารทวิษุวัต คำว่า ศารท สะกดอย่างคำสันสกฤต หรือ สารท สะกดอย่างคำบาลี นั้นหมายถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง

ส่วนครีษมายัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Summer Solstice (ซัมเมอร์ โซล-สะติส) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลย เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่สุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็น วันที่กลางวันยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูร้อน "ครีษมายัน" อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน มาจากคำสันสกฤตว่า "ครีษมะ" ตรงกับคำบาลีว่า คิมหานะ หรือ คิมหันต์ แปลว่า ฤดูร้อน สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า ครีษมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูร้อน ตรงกับคำว่า summer solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

เหมายัน หรือWinter Solstice (วินเทอร์ โซล-สะติส) ตรงกับ วันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่า เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำสุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูหนาว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจาก แกนเอียงของโลก 23.5 องศา กับแนวที่ตั้งฉากกับระนาบอิคลิปติค "เหมายัน" อ่านว่า เห-มา-ยัน มาจากคำบาลีสันสกฤตว่า "หิมะ" แปลว่า หิมะ อย่างที่เรารู้จักดีก็ได้ หรือแปลว่า ฤดูหนาว ก็ได้ สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า เหมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูหนาว ตรงกับคำว่า winter solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

ดังนั้นประเทศในแถบซีกโลกเหนือบางประเทศอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาถือเอาวันวสัน ตวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคมเป็นวันเริ่มต้นของวสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ ถือเอาวันครีษมายัน ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนเป็นวันเริ่มต้นของคิมหันตฤดูหรือฤดูร้อน ถือเอาวันศารทวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 22 กันยายนเป็นวันเริ่มต้นของศารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วง ถือเอาวันเหมายัน ซึ่งประมาณตรงกับวันที่ 22 ธันวาคมเป็นวันแรกของเหมันตฤดูหรือฤดูหนาว วันเหล่านี้ห่างกันประมาณ 3 เดือนพอดิบพอดี